เมนู

ว่าเราของเราจักดับ 1 ตัณหาอันเป็นเหตุให้กระทำการยึดถือว่าของเราของเรา
จักดับ 1 เราจักเป็นผู้ประกอบด้วยอสาธารณญาณ 1 เราจะเห็นเหตุด้วยดี 1
และจักเห็นธรรมที่เกิดขึ้นแต่เหตุด้วยดี 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณา
เห็น อานิสงส์ 6 ประการนี้แล เป็นผู้สามารถเพื่อไม่กระทำเขตจำกัดในธรรม
ทั้งปวง แล้วยังอนัตตสัญญาให้ปรากฏ.
จบตติยอโนทิสสูตรที่ 9

อรรถกถาตติยอโนทิสสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในตติยอโนทิสสูตรที่ 9 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อตมฺมโย ความว่า เป็นผู้เว้นจากตัณหาและทิฏฐิ ที่พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ตัมมยะ. บทว่า อหํการา ได้แก่ ทิฏฐิคืออหังการ
(ความเห็นว่าเป็นเรา). บทว่า มมํการา ได้แก่ ตัณหาคือมมังการ (การ
ยึดถือว่าของเรา). คำที่เหลือในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้น ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาตติยอโนทิสสูตรที่ 9

10. ภาวสูตร


ว่าด้วยไตรภพและไตรสิกขา


[376] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภพ 3 นี้ควรละ ควรศึกษาในไตรสิกขา
ภพ 3 เป็นไฉน ? คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ภพ 3 นี้ควรละ ไตรสิกขา
เป็นไฉน ? คือ อธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา อธิปัญญาสิกขา ควรศึกษาใน
ไตรสิกขานี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภพ 3 นี้ เป็นสภาพอันภิกษุ

ละได้แล้ว และเธอเป็นผู้มีสิกขาอันได้ศึกษาแล้วในไตรสิกขานี้ เมื่อนั้นภิกษุนี้
เรากล่าวว่า ได้ตัดตัณหาขาดแล้ว คลายสังโยชน์ได้แล้ว ได้ทำที่สุดทุกข์
เพราะละมานะได้โดยชอบ.
จบภาวสูตรที่ 10

11. ตัณหาสูตร


ว่าด้วยตัณหาและมานะ


[377] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัณหา 3 และมานะ 3 ควรละ ตัณหา
3 เป็นไฉน ? คือ กามตัณหา 1 ภวตัณหา 1 วิภวตัณหา 1 ตัณหา 3 นี้
ควรละ มานะ 3 เป็นไฉน ? คือ ความถือตัวว่าเสมอเขา 1 ความถือตัวว่า
เลวกว่าเขา 1 ความถือตัวว่าดีกว่าเขา 1 มานะ 3 นี้ควรละ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เมื่อใดแล ตัณหา 3 และมานะ 3 นี้ย่อมเป็นธรรมชาติอันภิกษุละ
ได้แล้ว เมื่อนั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้ตัดตัณหาขาดแล้ว คลายสังโยชน์
ได้แล้ว ได้กระทำที่สุดทุกข์เพราะละมานะได้โดยชอบ.
จบตัณหาสูตรที่ 11
จบอานิสังสวรรคที่ 5

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. ปาตุภาวสูตร 2. อานิสังสสูตร 3. อนิจจสูตร 4. ทุกขสูตร
5. อนัตตสูตร 6. นิพพานสูตร 7. ปฐมอโนทิสสูตร 8. ทุติยอโนทิสสูตร
9. ตติยอโนทิสสูตร 10. ภาวสูตร 11. ตัณหาสูตร และอรรถกถา.
จบทุติยปัณณาสก์